หลักสูตร การเป็นวิทยากรมืออาชีพ (Train the Trainer)

1224 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลักสูตร การเป็นวิทยากรมืออาชีพ    (Train the Trainer)

 หลักการและเหตุผล

การสร้างวิทยากรผู้สอนจากภายในองค์กร (Trainer) เพื่อทำหน้าที่ในฝึกอบรมให้กับพนักงานในองค์กรเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน เมื่อองค์กรมีการเติบโตขึ้น มีพนักงานมากขึ้น การถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานในองค์กรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  องค์กรในบางครั้งสามารถใช้บริษัทภายนอกผู้ชำนาญทำการฝึกอบรมให้ความรู้กับพนักงานได้  แต่องค์กรไม่สามารถจะพึ่งพิงบริษัทภายนอกได้ทุกๆ ครั้งทุกเวลา เพราะหากทำเช่นนั้นต้นทุนการฝึกอบรมจะมีราคาสูงมาก และอาจจะมีข้อจำกัดด้านเวลา และเนื้อหาในการถ่ายทอดด้วย การสร้างวิทยากรผู้สอนฝึกอบรมจากภายในองค์กรจึงได้ประโยชน์มากต่อองค์กร เพราะวิทยากรภายในนั้น รู้และเข้าใจปัญหาองค์กรเป็นอย่างดี และอยู่ใกล้ชิดกับผู้รับการอบรมในองค์กรอันจะทำให้สะดวกต่อการถ่ายทอดความรู้ในองค์กรเป็นไปได้อย่างราบรื่น

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่ออธิบายหลักการสำคัญและความรู้และเทคนิคในการเป็นวิทยากรผู้สอนภายในองค์กร
  2. เพื่อสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการเป็นวิทยากรผู้สอนภายในองค์กร
    เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้จริงหลังการฝึกอบรม
เนื้อหาการเรียนรู้
  • ความสำคัญและหลักการของการฝึกอบรม
  • ผู้สอนที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้อะไรบ้าง
  • วงจรของการเรียนรู้คือ EDIC
    • การอธิบาย (Explanation)
    • การสาธิตให้ดู (Demonstration)
    • การให้ผู้เรียนทำตาม (Imitation)
    • ผู้สอน สรุป-แก้ไข-เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น (Consolidation)
  • วงจรแห่งความเชื่อมั่น (The confidence cycle) และวงจรแห่งความกังวล (The anxiety cycle) 
  • ผู้สอนที่ประสบความสำเร็จคือผู้สอนจะต้องเข้าใจและใช้วงจรแห่งความสำเร็จ ในการสอนให้กับผู้เรียน
  • ผู้สอนในฐานะ ผู้อำนวยการการสอน (Facilitating) : ผู้สอนจะต้องตั้งคำถาม ถามผู้เรียนตลอดเวลา และ ฟังคำตอบจากผู้เรียน ค้นหาว่าผู้เรียนเข้าใจ หรือไม่เข้าใจอย่างไร  อย่าขัดจังหวะผู้เรียน  อย่าเบรกผู้เรียน บางครั้งผู้สอนจะกลับไปใช้ ความเป็นผู้จัดการ แล้วใช้คำสั่ง ใช้การควบคุม ผู้สอนจะทำแบบนั้นไม่ได้ ผู้สอนจะต้องอดทนกับผู้เรียน
  • เทคนิคการนำเสนองานแบบให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม  :  บทบาทผู้สอนในฐานะ ผู้นำเสนอ  การนำเสนอ (Presentations) โดยผู้สอนกระทำเพื่ออธิบายถ่ายทอดให้ผู้เรียนถึงความรู้ใหม่หรือเทคนิคใหม่ในองค์กร แต่การนำเสนอนี้แตกต่างจากการนำเสนองานขายให้กับลูกค้า (Sales presentation) เพราะการนำเสนองานภายในองค์กรต้องการการมีส่วนร่วมอย่างมากจากผู้เรียน (participating) การนำเสนอในองค์กรจะมีความเป็นกันเองมากกว่า และ จะต้องสร้างความมีส่วนร่วมให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
  • ผู้สอนจะต้องสังเกตภาษาท่าทางของผู้เรียน : ผู้เรียนกำลังสนใจเรียน, กำลังสงสัย, กำลังเบื่อ
  • การบริหารจัดการ workshop อย่างมีประสิทธิผล  :  การเตรียมห้องอบรมล่วงหน้า, การแนะนำตนเองของผู้สอน และให้ผู้เรียนแนะนำตัวเอง, การอธิบายความคาดหวัง การกำหนดพฤติกรรมและทัศนคติที่เหมาะสมในการเรียน, การใช้น้ำเสียงที่ดีของผู้สอน 10 ประการ, การใช้ภาษาท่าทางของผู้สอน, การใช้อารมณ์ขันอย่างพองามของผู้สอน, การใช้อุปกรณ์การสอน White boards, Flip charts, Video, การจัดการด้านเอกสารการนำเสนอของผู้สอน
  • Tips ในการใช้ flip chart, ผู้สอนอย่าพูดกับกำแพง, การใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอขณะที่ยังคงสบตากับผู้เรียน, เทคนิคการตั้งคำถาม 4  แบบของผู้สอน, การจัดการตอบคำถามของผู้สอน, การบริหารเวลาในการสอน, การบริหารผู้เรียน, การจัดกิจกรรมในระหว่างการสอน และ การประเมินผลในการสอน 
วิธีการสัมมนา
  • อธิบายทฤษฎี และ แนวคิด
  • กิจกรรมกลุ่ม

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านต่างๆ ขององค์กรที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำการฝึกอบรมพนักงานในองค์กร  เช่น

  • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • ฝ่ายบัญชีและการเงิน
  • ฝ่ายเทคโนโลยสารสนเทศ
  • ฝ่าย ธุรการสำนักงาน
  • ฝ่ายการตลาด
  • ฝ่ายสื่อสารองค์กรและแรงงานสมพันธ์
  • อื่นๆ
จำนวนผู้ร่วมสัมมนา 30   คน
วิทยากร :  อาจารย์ เพิ่มศักดิ์  โลหะพัฒนบำรุง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้