หลักการและเหตุผล
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและต่อรัฐ
การเรียนรู้กฎหมายแรงงานเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับนายจ้างหรือผู้มีหน้าที่เป็นฝ่ายนายจ้างทุกระดับตั้งแต่กรรมการผู้จัดการไปจนถึงหัวหน้างาน ลูกจ้างทุกคน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารและใช้กฎหมายแรงงาน
ทั้งนี้ เพื่อให้การจ้างงาน การใช้แรงงาน การประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างก็ได้รับประโยชน์ที่ตนพึงพอใจ อันจะมีผลทำให้เกิดความสงบสุข ความเจริญ และความมั่นคงแก่นายจ้าง ลูกจ้าง สังคมและประเทศชาติ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรม มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในองค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรมเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
- เพื่อลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจากการใช้กฎหมายแรงงาน
- เพื่อส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์จากการบริหารงานบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน
เนื้อหาการเรียนรู้
- กฎหมายแรงงานที่เกียวข้องและมีความสำคัญต่อองค์กร
- สัญญาจ้างแรงงานแตกต่างสัญญาจ้างทำของอย่างไร
- ระเบียบข้อบังคับในการทำงานที่สามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
- นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้อย่างไร
- ประเด็นที่สำคัญในการบริหารแรงงาน เช่น ค่าจ้าง การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด การบอกกล่าวล่วงหน้า สวัสดิการ วันหยุด วันลา การพักงาน การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย ฯลฯ
- กำหนดการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย และกรณีผิดนัดการจ่ายในกรณีข้างต้น
- หนังสือเตือนที่ถูกต้องและเป็นพยานหลักฐานได้
- การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมคืออะไร
- ตัวอย่างการวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกา
- ถาม-ตอบ
วิธีการสัมมนา : เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าสัมมนา (ผ่านระบบ Zoom)
- ทฤษฎี และข้อกฎหมาย
- วิธีปฏิบัติงานจริง
- กรณีศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานบริหารทรัพยากรบุคคล
- ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
- บุคคลทั่วไปที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าสัมมนา : 30 ท่าน
วิทยากร : อาจารย์ชัชวาล โรจนประไพ (ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายแรงงาน)
ลงทะเบียนหลักสูตรนี้คลิ๊ก