หลักสูตร พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเชิงปฏิบัติการ (Operational Personal Data Protection Act)

1424 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลักสูตร พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเชิงปฏิบัติการ (Operational Personal Data Protection Act)

หลักการและเหตุผล

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกฎหมายใหม่ของไทยที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นี้ โดยกฎหมายนี้ได้กำหนดโทษทั้งในทางแพ่ง ทางอาญาและทางปกครองไว้สูงถึง 5 ล้าน ดังนั้น ทุก ๆ หน่วยที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก พนักงานทุกคน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนทัศนคติที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันข้อพิพาทและปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อตัวผู้ปฏิบัติงานเองและต่อบริษัท 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้บุคลากรได้เรียนรู้ มีทักษะ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ถูกต้องและเตรียมความพร้อมให้องค์กรปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  2. มุ่งเน้นการนำไปปฏิบัติจริงของธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
เนื้อหาการเรียนรู้
  1. แนวคิดและที่มาของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ
  2. ความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคล (Scope)
  4. การเลือกใช้ฐานในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคล 7 ฐาน เพื่อสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
  5. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ควบคุมและผู้ประมวลผลข้อมูล
  6. แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  7. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ
  8. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลนิรนาม
  9. ความรับผิดทางแพ่ง โทษอาญาและโทษทางปกครอง ตาม PDPA
  10. การเตรียมความพร้อมขององค์กร
  11. การกำหนดมาตรฐานในการทำงานเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA
  12. กรณีศึกษาและตัวอย่างการใช้งานจริงเรื่องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  13. ฝึกปฏิบัติจริงในการจัดทำ Data Mapping เพื่อนำไปใช้กับองค์กร
  14. ฝึกปฏิบัติจริงในการประเมินความเสี่ยงและหามาตรการเพื่อความปลอดภัย การได้มา เก็บรักษา ประมวลผล และการทำลายข้อมูล

วิธีการสัมมนา  : ในการสัมมนานี้ ท่านจะได้รับฟังแนวคิดและรายละเอียดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ  ท่านจะได้เรียนรู้กรณีศึกษา (Case Study) ที่หลากหลาย และจะได้ฝึกปฏิบัติจริง  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่แท้จริงและนำความรู้กับทักษะที่ได้รับไปใช้ในการทำงานได้จริง (Actual Implementation)

  • ทฤษฎี และข้อกฎหมาย                       
  • วิธีปฏิบัติงานจริง
  • กรณีศึกษา                                 
  • กิจกรรมกลุ่ม
กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านต่างๆ ขององค์กร เช่น
  • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • ฝ่ายบัญชีและการเงิน
  • ฝ่ายกิจการองค์การ
  • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ฝ่ายธุรการสำนักงาน 
  • ฝ่ายการตลาด
  • ฝ่ายปฎิบัติการ สำนักกรรมการ
  • แผนกระบบบริหารคุณภาพและควบคุมคุณภาพ และผู้บริหารกิจการ
จำนวนผู้เข้าสัมมนา : 30 ท่าน


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้